วิธีการเลือกปลั๊กไฟ

Ud14cc041d9fe3823feaf2eba0eb4f423 • Updated on

เชื่อว่าทุกบ้านจะต้องมีอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่าง รางปลั๊กไฟหรือปลั๊กพ่วง แต่หลายคนอาจยังรู้วิธีเลือกปลั๊กไฟที่ถูกต้อง เพราะการจะซื้อปลั๊กพ่วงมาใช้งานในบ้านทั้งที ควรเลือกให้ได้มาตรฐานและเหมาะสมกับการใช้งาน เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความสำคัญในการเชื่อมต่อกระแสไฟจากเต้าไฟหลักมากระจายสู่จุดต่าง ๆ ตามต้องการ หากเลือกไม่ดีอาจเป็นสาเหตุของไฟไหม้ได้เลยทีเดียว

วิธีเลือกปลั๊กไฟพื้นฐานที่ควรสังเกตก่อนซื้อทุกครั้ง

  1. วิธีเลือกปลั๊กไฟต้องมีสัญลักษณ์ มอก. เสมอ สิ่งสำคัญอย่างแรกสำหรับการเลือกปลั๊กไฟคือ ต้องมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ซึ่ง มอก. สำหรับปลั๊กพ่วงคือ มอก. 2432-2555 มักแสดงบนกล่องหรือตัวผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน โดยสัญลักษณ์ มอก. 2432-2555 ที่ว่า จะแสดงถึงมาตรฐานที่ครอบคลุมทั้งรางปลั๊กไฟตั้งแต่ตัวรางปลั๊ก สายไฟ เต้ารับ เต้าเสียบ สวิตช์เปิด-ปิด ไปจนถึงแรงดันไฟฟ้า

  1. สายไฟฟ้าต้องได้มาตรฐาน มอก. สำหรับวิธีเลือกปลั๊กไฟนั้น อย่าลืมดูด้วยว่าสายไฟของตัวปลั๊กพ่วงนั้นได้สัญลักษณ์ มอก. 11-2553 เป็นมาตรฐานบังคับ (ซึ่งเป็นคนละส่วนกับ มอก. ปลั๊กพ่วง)

  1. วิธีเลือกปลั๊กไฟ สังเกตเกี่ยวกับเต้ารับก่อนอื่นเลยจะต้องดูว่าเต้ารับ เป็นไปตาม มอก.166-2549 และขาของเต้ารับควรทำจากทองเหลืองหรือทองแดง เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของแผงวงจรภายใน วัสดุจึงต้องสามารถนำไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี หากผลิตจากเหล็กชุบสีหรือโลหะอื่น ๆ เมื่อใช้งานไปนานวันเข้า ขาเสียบจะเริ่มหลวมทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปลั๊กพ่วงไหม้ได้ เต้ารับควรเป็นแบบ 3 ขา เป็นขากลม หรือมี 3 รู เพราะมีทั้งสาย L (Line) N (Neutral) และ G (Ground) ซึ่งเป็นสายดินที่มีความสำคัญ เพื่อป้องกันไฟรั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร โดยสายดินจะทำหน้าที่ดึงกระแสไปให้ไหลลงดินแทนที่จะเข้าที่ตัวคนนั่นเอง

  2. หัวปลั๊กหรือโคนขาปลั๊กมีฉนวนหุ้ม วิธีเลือกปลั๊กไฟควรดูหัวปลั๊กที่ปลอดภัย โดยสังเกตได้จากเต้าเสียบหรือหัวปลั๊กต้องเป็นขากลม เพราะเป็นมาตรฐาน มอก. และจะต้องมีฉนวนหุ้มที่โคนขาปลั๊กอย่างแน่นหนา เพื่อป้องกันการสัมผัสโดยตรง รวมถึงแรงดันไฟฟ้าของเต้าเสียบและเต้ารับต้องเท่ากัน ส่วนของกระแสไฟฟ้าเต้าเสียบต้องไม่น้อยกว่าเต้ารับ

 

  1. วัสดุรางปลั๊กไฟต้องเป็นพลาสติกทนความร้อนหลายคนอาจมองข้ามวิธีเลือกปลั๊กไฟข้อนี้ไป แต่ความจริงแล้วเป็นอีกหนึ่งจุดที่ควรเลือกให้ดี เพราะถ้าตัวกล่องที่ครอบรางปลั๊กทำมาวัสดุพลาสติกเกรดที่ไม่ได้รับมาตรฐาน อาจเสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟหรือพลาสติกละลายจนเกิดการติดไฟเมื่อมีการใช้ไฟเกินกำลัง ฉะนั้น ตัวกล่องที่ครอบรางปลั๊กควรเป็นพลาสติกที่ทนความร้อนสูงตามมาตรฐาน UL94 เช่น พลาสติก ABS, พลาสติก AVC หรือ PC เพื่อป้องกันความเสียหาย

  2. วิธีเลือกปลั๊กไฟให้ได้คุณภาพต้องมีระบบตัดไฟ ระบบตัดไฟ หรือ เบรกเกอร์นิรภัย (Circuit Breaker) จะช่วยตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อใช้งานกระแสไฟฟ้าเกินกว่าที่กำหนด หากมีการใช้กระแสไฟฟ้าสูงมากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดความร้อนจนเสี่ยงเกิดอันตรายได้ และต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน IEC 60934

  3. วิธีเลือกปลั๊กไฟที่ได้ประสิทธิภาพควรคำนึงถึง สวิตช์เปิด-ปิดบนรางปลั๊กไฟ หากปลั๊กพ่วงมีเต้ารับหลายอัน นอกจากสวิตช์ควบคุมการจ่ายกระแสไฟตัวหลักแล้ว แนะนำให้คำนึงถึงสวิตช์ควบคุมบนรางปลั๊กไฟของแต่ละเต้ารับด้วย หรือที่เรียกว่า การต่อวงจรแบบขนาน ที่สามารถควบคุมการจ่ายไฟของแต่ละรูปลั๊กได้ ซึ่งเป็นฟังก์ชันเสริมที่จะมีหรือไม่มีก็ได้ หากมีจะต้องได้รับมาตรฐานบังคับอ้างอิงตาม มอก. 824-2551 หรือ IEC61058

 

วิธีเลือกปลั๊กไฟอย่างไร? ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้พัฒนาไปมาก ปลั๊กพ่วงเองก็เช่นเดียวกัน ช่วงหลังมาเราจะเริ่มเห็นปลั๊กพ่วงที่มีช่องเสียบ USB มาให้ด้วยบนรางปลั๊กไฟ ช่วยให้เราใช้งานได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องใช้หัวปลั๊ก แต่นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่สามารถนำมาประกอบวิธีเลือกปลั๊กไฟให้เหมาะสมกับการใช้งานอีกด้วย ดังนี้

  • ความยาวของสายไฟ ควรเลือกความยาวสายไฟของปลั๊กพ่วงให้มีขนาดที่พอเหมาะ ไม่ยาวหรือสั้นจนเกินไป เพราะถ้ามีความยาวมากไปจนสายไฟต้องกองรวมกัน อาจมีโอกาสเสี่ยงเกิดอันตรายขณะใช้งานและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย แนะนำให้วัดความยาวของพื้นที่ที่จะใช้งานเอาไว้ก่อนเลือกซื้อจะดีกว่า

  • จำนวนวัตต์ที่ใช้งาน ปลั๊กพ่วงแต่ละอันสามารถรองรับกำลังวัตต์ได้ต่างกัน ปลั๊กพ่วงที่ดีต้องระบุไฟสูงสุดที่สามารถรองรับได้ เช่น 2,300 วัตต์ 2,500 วัตต์ เป็นต้น

  • ช่อง USB หากปลั๊กพ่วงที่กำลังตามหาอยู่มีจุดประสงค์เพื่อนำมาใช้ชาร์จไฟกับอุปกรณ์พวกแท็บเล็ต สมาร์ตโฟน หรือ Gadget อื่น ๆ การมีช่องเสียบ USB ก็อำนวยความสะดวกได้อย่างมาก

  • ปลั๊กไฟ
  • ทดสอบ

 

 

ที่มาจ้าาา 

 

 

 


ความคิดเห็น (0)

 ต้องการแสดงความคิดเห็น.
ยังไม่มีคนแสดงความคิดเห็น เริ่มแสดงความคิดเห้นได้เลยนะ
Ud14cc041d9fe3823feaf2eba0eb4f423
  • บทบาท
    User
  • เข้าร่วมเมื่อ
.